คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
Bachelor of Science Program in Public Health

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ :

แบบเหมาจ่าย 21,000 บาท

ทุนการศึกษา :

ทุนจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ ทุนมูลนิธิราชพฤกษ์ ทุนจากศิษย์เก่า ทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล

อาชีพหลังจบ :

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ 2 สาขาวิชาเอก

1. สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์การอาหารเพื่อสุขภาพ (Food Science for Health: FS)

มุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความสามารถในการวิเคราะห์ ประเมินคุณค่าและความปลอดภัยของอาหาร ตรวจวัดคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร ควบคุมการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อสุขภาพของผู้บริโภค โดยการประยุกต์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์การอาหาร ชีวเคมีทางอาหาร โภชนชีวเคมี การวิเคราะห์อาหาร การแปรรูปอาหาร การประกันคุณภาพอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร และการสุขาภิบาลด้านอาหาร

โอกาสการทำงาน :

นักวิชาการด้านสาธารณสุข นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการ เจ้าหน้าที่ในสายงานการผลิต การประกันคุณภาพและการวิเคราะห์คุณภาพอาหาร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ในสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการบริการอาหาร

โอกาสศึกษาต่อ :

สาขาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีทางอาหารหรือวิทยาศาสตร์การอาหาร การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวเคมีหรือชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว พิษวิทยาทางอาหาร จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม และโภชนาการ

2. สาขาวิชาเอกอนามัยชุมชน (Community Health: CH)

มุ่งผลิตบุคลากรให้มีความสามารถในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ดำเนินงานร่วมกับชุมชนวิเคราะห์สถานการณ์อนามัยชุมชนวิเคราะห์ปัจจัยและสาเหตุของปัญหาสุขภาพ จัดระบบเฝ้าระวังปัญหา วางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ พัฒนาระบบบริการอนามัยชุมชน ควบคุมกำกับงานและประเมินผลโครงการสาธารณสุข ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระดับประเทศใช้กระบวนการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาเป็นหลัก มีชุมชนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยการสหสาขาวิชาการ

โอกาสการทำงาน :
  • รับราชการ หรือ พนักงานราชการ : ในตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข นักสาธารณสุข นักวิชาการควบคุมโรค นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ นักวิจัย นักวิชาการการศึกษา นักพัฒนาชุมชน และตำแหน่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ภาคเอกชน : ในตำแหน่งงานด้านสุขภาพและกิจการเพื่อสังคม เช่น นักวิชาการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม นักฝึกอบรม ผู้ประสานงานโครงการ เป็นต้น
  • องค์กรพัฒนาเอกชน : ในตำแหน่งานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรนั้น ๆ เช่น เจ้าหน้าที่ประสานโครงการ เจ้าหน้าที่มูลนิธิ เป็นต้น
  • ทำงานอิสระ : เจ้าของธุรกิจส่วนตัว
โอกาสศึกษาต่อ :
  • ในสาขาที่ตรงกับพื้นฐานด้านอนามัยชุมชน เช่น สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาการระบาด ประชากรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ฯลฯ
  • สาขาอื่นๆ ที่รับคนที่จบปริญญาตรีพื้นฐานวิทยาศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อสอบถาม

งานบริหารการศึกษาและกิจการนักศึกษา
อาคารสาธารณสุขวิศิษฏ์ (อาคาร 1) ชั้น 6 ห้อง 1610
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

โทรศัพท์ 0 2640 9850 และ 0 2354 8543 ต่อ 7602

Facebook: คณะสาธารณสุขศาสตร์

Website: คณะสาธารณสุขศาสตร์