ชื่อปริญญา
พยาบาลศาสตรบัณฑิต / BACHELOR OF NURSING SCIENCE
ประเภทหลักสูตร
หลักสูตรไทย
ความน่าสนใจของหลักสูตร
วิชาชีพพยาบาล เป็นอาชีพที่มั่นคง มีเกียรติ และมีโอกาสต่อยอดได้หลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ หรือทำงานด้านสุขภาพทั้งในและนอกประเทศ และความรู้ที่ได้รับยังสามารถนำไปดูแลตนเอง พ่อแม่ และคนอื่นในครอบครัวได้
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง มีหลักสูตรที่มีมาตรฐานได้รับการยอมรับในระดับประเทศ มีสถานที่เรียนและอุปกรณ์การเรียนที่ครบครัน นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสมือนจริงและฝึกปฏิบัติจริงในแหล่งฝึกที่ทันสมัย อีกทั้งเรายังมีการจัดการเรียนสำหรับกลุ่มสองภาษา เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ รวมทั้งคณะพยาบาลศาสตร์ มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกประเทศ นักศึกษาของเราจึงมีโอกาสได้เดินทางไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในต่างประเทศบ่อยครั้ง และที่สำคัญเมื่อเรียนจบแล้วไม่ต้องกังวลเรื่องการหางาน เพราะบัณฑิตที่จบการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์จะได้เข้าทำงานทุกคน โดยถือเป็นการปฏิบัติงานตามสัญญาการเป็นนักศึกษาในโรงพยาบาลศิริราช เป็นเวลา 2 ปี ยกเว้นบัณฑิตที่ได้รับทุนการศึกษา จะต้องไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก หรือคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นเวลา 3 ปี
อาชีพที่สามารถประกอบได้เมื่อสำเร็จการศึกษา
- พยาบาลวิชาชีพซึ่งปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพ โรงเรียน สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
- นักวิชาการด้านสุขภาพ
- นักวิจัยด้านสุขภาพ
- ผู้ประกอบกิจการด้านสุขภาพ
- พนักงานบริษัทเอกชน ด้านสุขภาพ เช่น Flight Manager บริษัทประกันชีวิต บริษัทยา
ข้อมูลหลักสูตร
a. ระยะเวลาเรียน - 4 ปี
b. จำนวนหน่วยกิตรวม - จำนวน 125 หน่วยกิต
c. โครงสร้างหลักสูตร - แบ่งเป็น 3 หมวดวิชา ดังนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต | |
---|---|
1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 12 หน่วยกิต |
2. กลุ่มวิชาภาษา | 14 หน่วยกิต |
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ | 4 หน่วยกิต |
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 89 หน่วยกิต | |
---|---|
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 16 หน่วยกิต |
2. กลุ่มวิชาชีพ | 73 หน่วยกิต |
2.1 กลุ่มวิชาทฤษฎี | 37 หน่วยกิต |
2.2 กลุ่มวิชาปฏิบัติ | 36 หน่วยกิต |
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต | |
---|---|
รวม 125 หน่วยกิต |
d. แผนการศึกษา ระบุรายวิชาที่เรียนในแต่ละเทอม หรือภาพรวมของแผนการศึกษาในแต่ละชั้นปี/ช่วงชั้นปี
ภาคการศึกษาต้น | หน่วยกิต | ภาคการศึกษาปลาย | หน่วยกิต |
---|---|---|---|
มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ * | 3 (3-0-6) | มมศท 100 การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ * | - |
ศศภอ 103-106 ภาษาอังกฤษระดับ 1 - 4 ** | 3 (2-2-5) | ศศภท 100 ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3 (2-2-5) |
สมศษ 133 นักการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก | 2 (2-0-4) | ศศภอ 103-106 ภาษาอังกฤษระดับ 1 - 4 ** | 3 (2-2-5) |
วทชค 206 ชีวเคมีทั่วไป | 3 (3-0-6) | วทกว 101 กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน | 3 (2-3-5) |
พยคร 110 เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศทางสุขภาพ | 2 (1-2-3) | วทศท 132 การตัดสินใจโดยใช้หลักสถิติ | 2 (2-0-4) |
วทชค 101 ชีวเคมีทั่วไป | 3 (3-0-6) | วทจช 106 จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาทางการแพทย์ | 3 (2-3-5) |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เลือกเรียน 1 วิชา ไม่น้อยกว่า 2 หน่วยกิต *** | 2 | พยคร 109 การสร้างเสริมสุขภาพ | 2 (2-0-4) |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป เลือกเรียน 1 วิชา ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต *** | 3 | พยคร 111 บทนำสู่วิชาชีพการพยาบาล | 3 (2-2-5) |
หมวดวิชาเลือกเสรี 1 วิชา | 2 | ||
รวม | 20 | รวม | 19 |
คุณสมบัติ
คุณสมบัติทั่วไป
ผู้มีสิทธิ์สมัครจะต้องมีคุณสมบัติทั่วไปที่มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
คุณสมบัติทางการศึกษา
ผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 2.75
คุณสมบัติเฉพาะ
ผู้สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากโรค อาการของโรคหรือความพิการอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพเวชกรรม/วิชาชีพการพยาบาล ดังต่อไปนี้
- มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (Psychotic Disorders) กลุ่มโรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวรอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตราย ต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
- มีความผิดปกติด้านสุขภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
- ตาบอดสี
- ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
- มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (Speech Discrimination Score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (Sensorineural Hearing Loss)
- โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ข้างต้น ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ทั้งนี้คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณีตรวจเพิ่มเติมได้
คุณสมบัติอื่น ๆ อันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่มิได้ระบุไว้ข้างต้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งนี้ผลการตัดสินของคณะกรรมการฯ ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด
ผู้เข้าศึกษาต้องมีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติงานในส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้หลังจบการศึกษาแล้ว โดยต้องสามารถทำสัญญาผูกพันกับมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าปฏิบัติงานชดใช้ทุนได้
เกณฑ์การรับสมัคร: ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tcas.mahidol.ac.th
การรับเข้าศึกษา รับกี่รอบ รอบละกี่คน รวมทั้งที่รับผ่านและไม่ผ่าน TCAS
- รับสมัครจำนวน 3 รอบ คือ
- รอบที่ 1 Portfolio
- รอบที่ 2 โควตา
- รอบที่ 3 Admission
- จำนวนรับสมัคร: ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tcas.mahidol.ac.th
ค่าธรรมเนียมการศึกษา/แต่ละเทอม/ตลอดหลักสูตร
- ภาคการศึกษาละ 25,000 บาท รวมตลอดหลักสูตร 200,000 บาท
ทุนการศึกษา
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดสรรทุนการศึกษาและทุนรางวัลเกียรติบัตรประเภทต่างๆ ให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 เป็นประจำทุกปีการศึกษา โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน ช่วยเหลือนักศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์แต่เรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับดี และเพื่อยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี ทำชื่อเสียงให้แก่สถาบันเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ ทุนการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ สามารถแบ่งประเภทได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. ทุนอุดหนุนการศึกษาประจำปี
ทุนอุดหนุนการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์ จะแบ่งเป็นออกเป็นทุนการศึกษาต่อเนื่อง และทุนการศึกษารายปี ซึ่งทุนการศึกษาที่คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับความเมตตามาจากการมอบทุนการศึกษาของศิษย์เก่าคณะพยาบาลศาสตร์ บุคคลภายนอก คณะบุคคล และองค์กรภายนอกคณะคณะพยาบาลศาสตร์ นักศึกษาที่ประสงค์จะขอทุนการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ในการขอรับทุนการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์
2. ทุนโครงการความร่วมมือ
ทุนโครงการความร่วมมือ จะเป็นทุนการศึกษาที่คณะพยาบาลศาสตร์ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ผลิตพยาบาลเพื่อสถาบันนั้นๆ โดยนักศึกษาที่เป็นนักศึกษาทุนโครงการพิเศษหลังสำเร็จการศึกษา จะต้องชดใช้ทุนในสังกัดของตน อาทิเช่น คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น
3. ทุนรางวัลและเกียรติบัตร
ทุนรางวัลของคณะพยาบาลศาสตร์ จะเป็นทุนการศึกษาที่มอบให้แก่นักศึกษาชั้น ปีที่ 4 โดยมีทุนรางวัลการศึกษา(นักศึกษาที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมของชั้นปีหรือบางวิชา) ทุนรางวัลขยันหมั่นเพียร (นักศึกษาที่ไม่มีป่วย ไม่ลา ไม่ขาดตลอดชั้นปีที่ 3 และ 4) และมอบเกียรติบัตรในด้านต่างๆ เช่น ด้านกีฬา ด้านบำเพ็ญประโยชน์ ด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น
4. ทุนฉุกเฉิน (มหาวิทยาลัยมหิดล)
ทุนฉุกเฉินมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่ประสบเหตุการณ์ร้ายแรง ที่มีผลกระทบต่อฐานะทางครอบครัวจนอาจเป็นผลเสียต่อการศึกษา เช่น บิดา หรือมารดาเสียชีวิต บ้านไฟไหม้ สามารถขอทุนนี้ได้ โดยติดต่อฝ่ายพัฒนานักศึกษาคณะ/วิทยาลัย ที่นักศึกษาสังกัด
การทำสัญญา
- กรณีนักศึกษาที่ไม่ได้รับทุนการศึกษา เมื่อเรียนจบแล้วต้องปฏิบัติงานตามสัญญาการเป็นนักศึกษาที่โรงพยาบาลศิริราช เป็นเวลา 2 ปี โดยจะทำสัญญาการเป็นนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาชั้นปีที่ 1 และสัญญาจะมีผลเมื่อนักศึกษาเรียนในชั้นปีที่ 3
- กรณีนักศึกษาได้รับทุนการศึกษาโครงการความร่วมมือพิเศษ (ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน) เมื่อเรียนจบแล้วต้องปฏิบัติงานตามสัญญาการเป็นนักศึกษาทุนโครงการพิเศษที่โรงพยาบาลแหล่งทุน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี (นับจากวันเริ่มปฏิบัติงาน) หากปฏิบัติงานไม่ครบตามสัญญาที่กำหนดจะต้องชดใช้เงินคืนแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน)
งานบริการการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สำนักงานตั้งอยู่ที่ อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร (ศาลายา) ห้อง One Stop Service ชั้น 1
โทร. 02-441-5333 ต่อ 2122-2125
งานพัฒนานักศึกษา
สำนักงานตั้งอยู่ที่ อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร (ศาลายา) ห้อง One Stop Service ชั้น 1
โทร. 02-441-5333 ต่อ 2120 และ 2121
หอพักคณะพยาบาลศาสตร์ บางขุนนนท์
โทร. 02-424-2584, 02-424-3701-3 และ02-424-6855
ค่าย/กิจกรรมแนะแนวที่จัดเป็นประจำ
กิจกรรม NSMU Open House: เปิดบ้านคณะพยาบาล
- Onsite จัดร่วมกับมหาวิทยาลัย "เปิดบ้านมหิดล" ณ อาคารมหิดลอดุลยเดช - พระศรีนครินทร คณะพยาบาลศาสตร์ (ศาลายา)
- Facebook Live โดย หัวหน้างานบริการการศึกษา และนักศึกษาชั้นปี 4 ให้ข้อมูลเกี่ยวการศึกษาต่อและ TCAS รวมถึงเล่าชีวิตการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย และร่วมสนุกตอบคำถามชิงรางวัล
- กิจกรรม Road Show ทั้งนี้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมจากการเดินทางไปแนะนำหลักสูตรที่โรงเรียนเป็นรูปแบบออนไลน์การถาม - ตอบ จากรุ่นพี่ผ่าน Facebook Live
ช่องทางการติดตามข้อมูลกิจกรรมดังกล่าว
Facebook: https://www.facebook.com/nsmahidol