วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

หลักสูตรวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ 1 หลักสูตร ได้แก่

  • สาขาวิชาปฏิบัติดนตรีคลาสสิก (Classical Music Performance)
  • สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส (Jazz)
  • สาขาวิชาละครเพลง (Musical Theatre)
  • สาขาวิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก (Thai and Eastern Music)
  • สาขาวิชาการประพันธ์ดนตรี (Music Composition)
  • สาขาวิชาธุรกิจดนตรี (Music Business)
  • สาขาวิชาดนตรีศึกษาและการสอน (Music Education and Pedagogy)
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรี (Music Technology)

หลักสูตร มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการ "สร้างความเป็นเลิศทางด้าน สุขภาพ ศาสตร์ ศิลป์ และนวัตกรรม บนพื้นฐานของคุณธรรม" หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต มีเป้าหมายที่จะ พัฒนาศิลปิน ผู้สอน นักวิชาการและนักวิจัย ตลอดจนบุคลากรด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาดนตรีของประเทศ ไทย ซึ่งเป้าหมายดังกล่าว มีส่วนสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการของวัฒนธรรมด้านดนตรี ตลอดจนคุณภาพชีวิตของ บุคลากรด้านดนตรีของประเทศไทยต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. บัณฑิตที่สําเร็จศึกษาในวิชาเอกเกี่ยวกับการปฏิบัติดนตรี (ซึ่งได้แก่ สาขาวิชาปฏิบัติดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ดนตรีสมัยนิยม ละครเพลง ดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก การประพันธ์ดนตรี) จะสามารถแสดงดนตรีในฐานะนักแสดงเดี่ยว (Soloist) สมาชิกของวงดนตรี (Ensemble Member) หรือนักประพันธ์ดนตรี (Composer) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่กับการใช้ความรู้ทางทฤษฎีดนตรีและประวัติศาสตร์ดนตรี ตามสาขาวิชาและแนวดนตรีที่ตนเองได้ศึกษา
  2. บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาการดนตรี (ได้แก่ สาขาวิชาดนตรีศึกษาและการสอน) จะสามารถเป็นนักดนตรีศึกษา นักวิชาการดนตรี และอาจารย์สอนดนตรีที่มีคุณภาพ ทั้งใน ด้านวิชาการ และด้านการปฏิบัติดนตรี
  3. บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีประยุกต์ (ได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีดนตรีและธุรกิจดนตรี) จะสามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับดนตรี โดยมีพื้นฐานความเข้าใจศิลปะการดนตรี ที่ลึกซึ้ง ในการนําไปปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ งานด้านเทคโนโลยีดนตรี หรือการบริหารจัดการธุรกิจดนตรี
  4. บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษา ในทุกสาขาวิชาเอก มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และความสามารถในการสร้างสรรค์ในสายงานอาชีพด้านดนตรีตามความถนัดของตน บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาในทุกสาขาวิชาเอก มีทักษะทางสังคมเพื่อการดํารงชีวิตและประกอบอาชีพที่ดี มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ มีวินัยและความรับผิดชอบ

แนะนำการเรียน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยประมาณ

ตลอดหลักสูตร (4 ปี) 670,000 บาท

ทุนการศึกษา

ทุนเปรมดนตรี, ทุนไทยเบฟ, และทุนเรียนดี เป็นต้น

อาชีพหลังจบ

บุคลากรดนตรี เช่น

  • นักแสดงเดี่ยว (soloist) นักแสดงในวงดนตรี
  • อาจารย์สอนดนตรี นักวิชาการและนักวิจัยด้านดนตรี
  • ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ในสถาบันการศึกษาด้านดนตรี
  • วิศวกรด้านเสียง (Sound Engineer) และนักเทคโนโลยีดนตรี
  • เจ้าของกิจการ เจ้าหน้าที่ หรือผู้บริหาร ในธุรกิจดนตรี หรือหน่วยงานของรัฐ ที่มีพันธกิจเกี่ยวข้องกับการดนตรีและศิลปะ

การสมัคร

ติดตามมรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://commas.music.mahidol.ac.th/stu_new/login/login_curri.php?LN=TH