หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
Bachelor of Science (B.Sc.) Program in Natural Resources and Environmental Management (International
Program)
ปรัชญาของเรา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จัดการศึกษามุ่งเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-Based education) โดยใช้ศาสตร์บูรณาการในการเรียนการสอนที่ทั้งผู้เรียนและผู้สอนได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนา (Learning-centered education) ผ่านการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การศึกษาดูงานและการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง และการทำโครงการวิจัยจนเกิดเป็นทักษะหรือองค์ความรู้เพิ่มเติมที่สร้างได้ด้วยตนเอง (Constructivism) ทำให้บัณฑิตสามารถประกอบอาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีคุณภาพ สามารถพัฒนาตนเอง และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในศาสตร์และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา
เป็นผู้สำเร็จมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เฉพาะสายวิทย์-คณิต และมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยมหิดล และกระทรวง อว. ที่กำหนดไว้สำหรับผู้มีสิทธิเข้าสอบคัดเลือกเพื่อศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ
โครงสร้างของหลักสูตร
หลักสูตร 4 ปี (ทวิภาค)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
- เอกวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 134 หน่วยกิต
- เอกวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
ค่าเทอม
แบบเหมาจ่าย 21,000 บาทต่อเทอม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิต
PLO1 วางแผนและดำเนินการประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ดิน น้ำ และอากาศ ทั้งในระดับสถานประกอบการชุมชน และระบบนิเวศ ได้อย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับบริบททางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมสากลและจรรยาบรรณวิชาชีพ
PLO2 แสดงทักษะในการใช้อุปกรณ์เครื่องมือเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างทางสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องตามวิธีการมาตรฐานสากล
PLO3 บริหารจัดการโครงการป้องกัน ควบคุม แก้ไข และฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ โดยคำนึงถึงหลักวิชาการ จรรยาบรรณของสาขาวิชาชีพ และบริบทของสังคมในพื้นที่เป้าหมาย
PLO4 สื่อสาร ข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อมได้ตรงตามวัตถุประสงค์ โดยใช้เครื่องมือในการสื่อสารและภาษาที่เหมาะสมกับผู้รับสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
PLO5 ทำงานในบทบาทนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมร่วมกับผู้อื่นได้ทั้งในบทบาทผู้นำและสมาชิกของกลุ่มเพื่อให้บรรจุเป้าหมายของกลุ่ม
PLO6 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมตามหลักจริยธรรม
PLO7 วางแผนพัฒนาตนเองในบริบทของการเป็นนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ และเท่าทันต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลง
PLO8 สร้างผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับเอกวิชาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและจรรยาบรรณนักวิจัย
อาชีพที่สามารถทำได้สามารถประกอบอาชีพได้ในสายงานวิชาการและสายงานปฏิบัติการทางด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น
- นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานด้านวิชาการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรท้องถิ่น
- ผู้ปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์
- นักวิเคราะห์นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
- นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม
- ผู้ควบคุมและผู้ปฏิบัติงานประจำระบบบำบัดมลพิษในสถานประกอบการ
- ผู้ช่วยวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
- ผู้ประสานงานโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
ทุนอุดหนุนการศึกษา
ทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล ทุนจากหน่วยงานของรัฐ/เอกชน ที่ให้การสนับสนุนการศึกษาในระดับปริญญาตรี ทุนสนับสนุนการศึกษาคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และสมาคมศิษย์เก่าคณะฯ เช่น ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ทุนศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา
ติดต่อสอบถาม
ประธานหลักสูตร : รองศาสตราจารย์ ดร.สุกัญญา เสรีนนท์ชัย
E-mail : sukanya.ser@mahidol.edu
ผู้ประสานงานหลักสูตร : นางสุดา ขำดำรงเกียรติ
E-mail : suda.kho@mahidol.ac.th
ผู้ประสานงานหลักสูตร : นางสาวศรีสุภางค์ ลิมป์กาญจนวัฒน์
E-mail : srisuphang.lim@mahidol.ac.th