หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Bachelor of Science (Agriculture)
ความยั่งยืนของการเกษตรมาจากสุขภาพที่ดีของเกษตรกร ความปลอดภัยของผลผลิตทางเกษตร และความสมดุลของระบบนิเวศเกษตร ภายใต้การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสม โดยยึดหลักปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy) ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดการศึกษาที่เน้นผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน (Outcome-based Education) เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ (Learning Centered Education) และ ให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีทักษะทางการเกษตร สามารถแก้ไขปัญหาและ/หรือ พัฒนาอย่างเป็นระบบ และมีแนวคิดแบบผู้ประกอบการโดยยึดหลักจรรยาบรรณทางวิชาการ ดังอัตลักษณ์บัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ "เป็นงาน ชาญวิชา พัฒนาการเกษตรเพื่อสุขภาวะ" และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีการพัฒนาจากเกณฑ์มาตรฐานและความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต พร้อมทั้งได้นาทักษะที่จาเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ ค่านิยมของมหาวิทยาลัยมหิดล (MAHIDOL) และโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ (MUAM) เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA) และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดลมาร่วมพิจารณา จึงกาหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถดังนี้
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) จัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถและคุณสมบัติ ดังนี้
- มีความรู้แจ้งและสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรในการผลิตพืชและสัตว์ให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ผลิต ผู้บริโภค และระบบนิเวศเกษตร
- มีความรู้ลึกในการใช้กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาทางการเกษตรได้อย่างเหมาะสมตามสภาพระบบนิเวศเกษตร โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ
- เขียนแผนธุรกิจและประกอบการธุรกิจสินค้าเกษตรปลอดภัยได้
- สื่อสาร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับบุคคลและชุมชนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทพื้นที่
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- ทางานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบาทและหน้าที่
- มีความรู้กว้างและสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
รู้จักหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
สถานที่จัดการเรียนการสอน
- มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
- โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดอานาจเจริญ
- หน่วยงานหรือสถานประกอบการทางการเกษตรทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดอานาจเจริญและจังหวัดใกล้เคียง
ทุนการศึกษา
ไม่มี
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program–level Learning Outcomes: PLOs)
PLO1 ประพฤติตนอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และทางานเป็นทีมในการปฏิบัติงานทางการเกษตร
PLO2 ใช้ความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเพื่อสุขภาวะได้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
PLO3 สร้างผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรภายใต้มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย
PLO4 ปฏิบัติการวิจัยอิสระเพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงวิจัยด้านการเกษตรเพื่อสุขภาวะบนพื้นฐานจรรยาบรรณการวิจัย
PLO5 แสดงความเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร ที่มุ่งเน้นสินค้าหรือบริการด้านการเกษตรเพื่อสุขภาวะบนพื้นฐานคุณธรรมและจริยธรรม
PLO6 สื่อสารความรู้ทางการเกษตร ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
อาชีพหลังจบ
บัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สามารถประกอบอาชีพ ดังต่อไปนี้
- ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรปลอดภัย
- งานราชการ เช่น นักวิชาการเกษตร นักวิทยาศาสตร์ นักปฏิบัติการทางการเกษตร นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย นักส่งเสริมการเกษตร และ นักวิชาการสัตวบาล
- งานเอกชน เช่น นักวิชาการเกษตร พนักงานฝ่ายผลิต พนักงานส่งเสริมการเกษตร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานทางการเกษตร พนักงานส่งเสริมการขาย และเจ้าหน้าที่ประจาห้องปฏิบัติการ
- งานรัฐวิสาหกิจ เช่น พนักงานส่งเสริม (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) พนักงานสัตวบาล
- งานในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตาบล และ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่น นักวิชาการเกษตร